วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

พระธาตุกลางน้ำ หรือพระธาตุหนองคาย

                      พระธาตุกลางน้ำ หรือพระธาตุหนองคาย

    พระธาตุหนองคายหรือพระธาตุกลางน้ำ พระธาตุหล้าหนองยังคงเป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคาย ชาวบ้านได้จัดงานประเพณีเกี่ยวกับพระธาตุทุกปี คือบุญบั้งไฟเดือนหก และงานประเพณีบุญแข่งเรือออกพรรษา มีเรือบริการชมพระธาตุหล้าหนองใกล้ๆ หรือไปสักการะพระธาตุ คนละ 20 บาท

พระธาตุหล้าหนององค์จำลอง

       เดิมชื่อพระธาตุหล้าหนอง เป็นพระธาตุที่หักพังอยู่กลางลำน้ำโขง ห่างจากชายฝั่งปัจจุบันประมาณ 180 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุฝ่าพระบาทเก้าพระองค์ตามตำนานอุรังคธาตุ (พระพนม) จากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค 7 พบว่าองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 17.2 เมตร ย่อมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ 28.5 เมตร หักออกเป็น 3 ท่อน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 20–22 เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายพระธาตุบังพวนมากที่สุด หนังสือประชุมพงศาวดารภาค 70 บันทึกไว้ว่า "พระธาตุเมืองหนองคายได้เพ (พัง) เมื่อวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ปีพุทธศักราช 2390" และตลิ่งได้ถูกน้ำเซาะจนมองเห็นพระธาตุอยู่เกือบกึ่งกลางลำน้ำโขงในปัจจุบัน
     พระธาตุหล้าหนองยังคงเป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคาย ชาวบ้านได้จัดงานประเพณีเกี่ยวกับพระธาตุทุกปี นอกจากนี้ทางจังหวัดหนองคายได้ก่อสร้างพระธาตุหล้าหนององค์จำลองสูง 15 เมตรขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยบรรจุชิ้นส่วนพระธาตุองค์จริงอยู่ภายใน
     เป็นพระธาตุที่หักพังอยู่กลางลำน้ำโขง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุฝ่าพระบาทเก้าพระองค์ตามตำนานอุรังคธาตุ (พระพนม) จากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค 7 พบว่าองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 17.2 เมตร ย่อมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ 28.5 เมตร หักออกเป็น 3 ท่อน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 20–22 เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายพระธาตุบังพวนมากที่สุด หนังสือประชุมพงศาวดารภาค 70 บันทึกไว้ว่า “พระธาตุเมืองหนองคายได้เพ (พัง) เมื่อวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ปีพุทธศักราช 2390” และตลิ่งได้ถูกน้ำเซาะจนมองเห็นพระธาตุอยู่เกือบกึ่งกลางลำน้ำโขงในปัจจุบัน ที่ตั้ง : ตำบลวัดธาตุ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000

  พระธาตุหนองคาย หรือพระธาตุกลางน้ำ หรืออีกชื่อ พระธาตุหล้าหนอง เป็นพระธาตุที่มีขนาดใหญ่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง เนื่องจาก แม่น้ำเชี่ยวกรากจึงกัดเซาะตลิ่งจนพระธาตุพังลงในแม่น้ำ ทำให้ปัจจุบันองค์พระธาตุจมอยู่กลางแม่น้ำโขงห่างจากฝั่งไทย 180 เมตร องค์พระธาตุก่อด้วยอิฐถือปูน ล้มตะแคงไปตามกระแสน้ำ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีฐานเหลี่ยมมุมฉาก โดยด้านหนึ่ง โผล่ ขึ้นมาเหนือน้ำเพียงครึ่งฐาน องค์พระธาตุมีรูปทรงทางสถาปัตยกรรมเท่าที่ยังเหลืออยู่เป็นชั้นฐานเขียง 2 ชั้น ฐานสี่เหลี่ยม ย่อเก็จ ต่อขึ้นมาอีก 4 ชั้น จึงเป็นเรือนธาตุ ต่อด้วยบัวลูกแก้วอีก 2 ชั้น ความสูงของเจดีย์เฉพาะส่วนที่สัมผัสได้ 12.20 เมตร ความกว้างของ ฐานองค์พระธาตุชั้นล่างสุด 15.80 เมตร

 
                  พระธาตุกลางน้ำหนองคาย
 
      พระธาตุหนองคาย เป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคายอย่างมาก ทางจังหวัดจึงได้สร้างพระธาตุองค์จำลองขึ้น มาบริเวณ ริมฝั่งแม่น้ำโขงและบรรจุชิ้นส่วนองค์พระธาตุจากองค์เดิมไว้ภายใน และยังเป็นการป้องกันการกัดเซาะตลิ่งด้วย ขนาด พระธาตุ องค์จำลอง ฐานกว้าง 10x10 เมตร ความสูงประมาณ 15 เมตร พร้อมทั้งการเสริมสร้างเสถียรภาพตลิ่งและป้องกัน การกัดเซาะตลิ่ง ตลอดความยาว 194 เมตร นอกจากนี้ยังมีการจัดสภาพภูมิทัศน์โดยรอบให้มีความสวยงาม
     พระธาตุหนองคาย เป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคาย และชาวบ้านได้จัดงานประเพณีเกี่ยวกับพระธาตุในทุกปี คือ ประเพณีบุญบั้งไฟ เดือน 6 เพื่อจุดถวายองค์พระธาตุ ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พิธีบวงสรวงองค์พระธาตุ วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ถวายปราสาทผึ้ง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และการแข่งเรือยาววันออกพรรษาทุกปี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
พระธาตุกลางน้ำหนองคาย
พระธาตุกลางน้ำหนองคายพระธาตุกลางน้ำหนองคาย
พระธาตุกลางน้ำหนองคายพระธาตุกลางน้ำหนองคาย

      พระธาตุหนองคาย หรือพระธาตุกลางน้ำเดิมชื่อพระธาตุหล้าหนองเป็นพระธาตุที่หักพังอยู่กลางลำน้ำโขง เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมธาตุ ฝ่าพระบาทเก้าพระองค์ตามตำนานอุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนมจากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค 7 พบว่าองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 17.2 เมตร ย่อมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ 28.5 เมตร หักออกเป็น 3 ท่อน สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 20–22 เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายพระธาตุบังพวน ในหนังสืออุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงการสร้างพระธาตุหล้าหนองว่า พระธาตุองค์นี้ สร้างโดยพระอรหันต์5 องค์ ประกอบด้วย พระมหารัตนเถระ, พระจุลรัตนเถระ, พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ, พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ และพระสังฆวิชัยเถระ ที่ล้วนเป็นศิษย์พระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต พระสังฆรักขิต พระอรหันต์ทั้ง 3 องค์ พระอรหันต์ทั้ง 5 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้าจาก ประเทศอินเดียมาพร้อมกันและได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้พร้อมกัน 6 แห่ง คือ
- พระธาตุหอผ้าหอแพบ้านทรายฟองเมืองหาดทรายฟองสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
- พระธาตุหัวเหน่า 29 องค์ บรรจุไว้ที่พระธาตุหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
- พระอุรังคธาตุ หรือพระธาตุหน้าอก บรรจุไว้ที่พระธาตุพนมอำเภอธาตุพนมจังหวัดนครพนม
- พระธาตุบังคล หรือกระเพาะอาหาร บรรจุไว้ที่พระธาตุบังพวนวัดพระธาตุบังพวนอำเภอเมืองหนองคาย
- พระธาตุเขี้ยวฝาง 7 องค์ บรรจุไว้ที่พระธาตุโพนจิกเวียงงัวอำเภอเมืองหนองคาย
- พระธาตุฝ่าพระบาทเบื้องขวา 9 องค์ บรรจุไว้ที่พระธาตุเมืองลาหรือพระธาตุหล้าหนองอำเภอ เมืองหนองคายโดย พระธาตุหล้าหนองนี้ตั้งอยู่กลางบริเวณวัดธาตุ หรือวัดสิริมหากัจจายน์ ชุมชนวัดธาตุเทศบาลเมืองหนองคาย
 
      
 
 
 
 
          
 
        พระธาตุหล้าหนองกลางน้ำโขง ประวัติ เป็นพระเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานที่วัดพระธาตุ อ.เมืองหนองคาย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-20 โดยมีพระอรหันต์แห่งเมืองหนองคาย ๕ องค์ เดินทางไปขอพระบรมสารีริกธาตุกับพระมหากัสสปเถระ ที่กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระอุโมงค์พระธาตุหล้าหนอง ลุถึงปี พ.ศ.๒๑๐๙ พระไชยเชษฐาธิราช ได้สร้างพระมหาเจดีย์ครอบพระอุโมงค์พระธาตุองค์เดิมฐานกว้าง ๑๕.๘๐ เมตร สูง ๓๓ เมตร ต่อมากระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งถึงองค์พระเจดีย์จึงได้พังลงมาในปี พ.ศ. ๒๓๙๐

พระธาตุหนองคายหรือพระธาตุกลางน้ำ
 
 
 
 
 
 
 

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว



                                                 

      มีเนื้อที่ประมาณ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 150-300 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้า ที่ทำการเขตฯ ตั้งอยู่ที่บ้านดอนจิก ซึ่งอยู่เลยอำเภอบุ่งคล้ามา 3 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่
     น้ำตกถ้ำฝุ่น อยู่ในบริเวณท้องที่บ้านภูสวาท ตำบลหนองเดิ่น บนเส้นทางหมายเลข 212 ก่อนถึงอำเภอบุ่งคล้า 7 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปน้ำตกประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณป่าโปร่งที่มีทิวทัศน์สวยงามทางตอนเหนือของภูวัว ทางเดินไปน้ำตกผ่านลานหินทรายกว้างขวาง จนมาสุดทางที่น้ำตกที่ไหลมาจากหน้าผาหินทรายที่มีลักษณะเป็นร่องแคบ มองเห็นสายน้ำตกมาเป็นทางยาว มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน บริเวณใกล้เคียงมีเพิงผาหินเป็นแนวยาวเรียกว่า ถ้ำฝุ่น
     น้ำตกเจ็ดสี ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา หากเดินทางมาตามทางหมายเลข 212 ก่อนถึงบุ่งคล้า 12 กิโลเมตรมีทางแยกขวาที่บ้านชัยพร ผ่านบ้านภูเงิน บ้านดอนเสียดไปถึงน้ำตกเป็นระยะทางอีก 28 กิโลเมตร หรือหากเดินทางจากภูทอกใช้เส้นทางที่ผ่านบ้านนาต้อง บ้านดอนเสียด รวมระยะทางจากภูทอก 14 กิโลเมตร น้ำตกเจ็ดสี เป็นน้ำตกที่สวยงามมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เกิดจากธารน้ำของห้วยกะอามไหลมาตามหน้าผาหินทรายสูงและแผ่กว้างเป็นทางยาว สายน้ำตกกระทบหินเบื้องล่างเกิดเป็นละอองไอน้ำยามเมื่อกระทบกับแสงแดดทำให้เกิดสีต่างๆ ขึ้น จึงเรียกว่า น้ำตกเจ็ดสี
     น้ำตกภูถ้ำพระ ตั้งอยู่บริเวณบ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา อยู่ห่างจากอำเภอเซกาประมาณ 34 กิโลเมตร มีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเช่นเดียวกับน้ำตกอื่น ๆ ของภูวัว แต่การเดินทางเข้าถึงค่อนข้างลำบาก เดินทางจากอำเภอบุ่งคล้าไปตามทางหมายเลข 212 ระยะทาง 24 กิโลมตรถึงบ้านท่าดอกคำ มีทางดินแยกขวาไปจนถึงห้วยบางบาตรและต่อเรือชาวบ้านไปยังน้ำตก บริเวณน้ำตกจะเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ เงียบสงบและร่มรื่น เมื่อเดินขึ้นมาบนลานหินด้านหลัง จะพบหุบเขารูปแอ่งกระทะขนาดกว้างประมาณ 200 ตารางเมตร มีสายธารน้ำตกไหลมายังก้นอ่างที่เบื้องล่าง บริเวณน้ำตกเป็นผากว้างราว 100 เมตร สูง 50 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้

     น้ำตกชะแนน เดิมชื่อน้ำตกตาดสะแนน ตาดแปลว่า "ที่ซึ่งมีน้ำไหล" สะแนนมีความหมายว่า "สูงสุดยอด" หรือ "เยี่ยมยอด" ตั้งอยู่ที่บ้านภูเงิน ในเขตอำเภอเซกา ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปน้ำตกเจ็ดสี โดยใช้เส้นทางบ้านชัยพร-บ้านภูเงิน ระยะทาง 13 กิโลเมตร จะมีทางแยกไปน้ำตกชะแนนอีก 5 กิโลเมตร ทางช่วงสุดท้ายเป็นทางดินแคบขรุขระและไม่สะดวก ต้องใช้มอเตอร์ไซค์เท่านั้น น้ำตกชะแนนเกิดจากลำห้วยสะแนนไหลลดหลั่น 2 ชั้น มีขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ระหว่างชั้นที่ 1 กับชั้นที่ 2 ห่างกัน 300 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม มีน้ำเฉพาะฤดูฝน ระหว่างทางจะผ่านขัวหิน (สะพานหิน) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น้ำลอดหายไปใต้สะพานหินที่มีความยาวประมาณ 100 เมตร การเดินทางไปชั้นที่สองของน้ำตกชะแนน จะผ่านแนวลำธารที่พื้นเต็มไปด้วยโขดหิน เดินตามลำธารไปทางชายฝั่งด้านซ้ายมือ ทะลุออกที่ลานกว้างริมแอ่งน้ำใหญ่ เหนือแอ่งน้ำขึ้นไปก็เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ ตกลงมาสู่แอ่ง เรียกกันว่า น้ำตกบึงจระเข้





    

วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว


วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว
               หนองคาย เมืองชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นประตูสู่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเชื่อมระหว่างสองประเทศจังหวัดหนองคายอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 615 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงมากที่สุดเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด ทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ สามารถเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้โดยสะดวก มีวัดวาอารามและวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจ โรงแรมที่พักที่สะดวกสบาย หลากหลายไปด้วยอาหารและสินค้าของฝาก ล้วนเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาเยือนเมืองริมโขงแห่งนี้

ภูมิอากาศ 
     เนื่องจากจังหวัดหนองคายมีภูมิประเทศติดกับแม่น้ำโขง ทำให้มีฝนตกชุกในฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ในฤดูหนาวราวเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์จะมีอากาศหนาวเย็นเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายนอากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียส
 
หนองคาย เมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก
     นิตยสาร Modern Maturity ของสหรัฐอเมริกา จัดให้หนองคายเป็นเมืองน่าอยู่ลำดับที่ 7 ของโลก สำหรับคนวัยเกษียณชาวอเมริกัน  จากการสำรวจ 40 เมืองทั่วโลก โดยอาศัยตัวชี้วัด 12 ตัว คือ ภูมิอากาศ ค่าครองชีพ วัฒนธรรม ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค การคมนาคม บริการทางการแพทย์ สภาพแวดล้อม กิจกรรมนันทนาการ ความปลอดภัย ความมั่นคงทางการเมือง และการเข้าถึงเทคโนโลยี

ประวัติเมืองหนองคาย
     ประวัติศาสตร์ของเมืองหนองคายเริ่มต้นเมื่อกว่า 200 ปีเศษ พื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็ก ๆ 4 เมือง คือ เมืองพรานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย) ปัจจุบันยังพบซากโบราณสถานอยู่ตามวัดต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงบนเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่
     ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฎ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชเทวี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นเจ้าเมือง โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่และเลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่ แล้วตั้งชื่อเมืองว่า หนองคาย ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง

อาณาเขต 

ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่าง ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดอุดรธานี, สกลนคร
ทิศตะวันออก  ติดกับจังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย 

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ภูทอก

ภูทอก

อำเภอศรีวิไล จ.หนองคาย
ภูทอกในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว อยู่ในเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง เป็นภูเขาหินทรายโดดเด่นมองเห็นได้แต่ไกล ประกอบด้วย ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย แต่ก่อนบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ

ภูทอกน้อยเป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก โดยต้องเดินไปตามสะพานไม้เวียนวนรอบเขาสูงชันจนถึงยอด สะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากเหล่าพระ เณร และชาวบ้าน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2512 ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปี บันไดที่ทอดขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรม ที่น้อมนำสัตบุรุษให้พ้นโลกแห่งโลกียะสู่โลกแห่งโลกุตระหรือโลกแห่งการหลุดพ้น ด้วยความเพียรพยายามและมุ่งมั่น ภูทอกยังคงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติศาสนกิจของชุมชน ดังนั้นผู้ที่มาเยือนสถานที่แห่งนี้ควรอยู่ในความสงบและเคารพสถานที่ บันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น แตกต่างกันดังนี้

ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหิน ลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านหลืบหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4

ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ บนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะๆ

ชั้นที่ 5 มีศาลาและกุฏิที่อาศัยของพระ ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ 6 มีที่พักเป็นลานกว้างหลายแห่ง มีหน้าผาชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พระวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มักหยุดการเดินทางเพียงแค่นี้ เพราะจากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สุดทางที่ชั้น 7 เป็นป่าไม้ร่มครึ้ม

การเดินทาง ภูทอก อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 185 กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอโพธิ์ชัย อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 30 กิโลเมตร

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

เที่ยวซื้อสินค้า ตลาดท่าเสด็จ หนองคาย

เที่ยวซื้อสินค้า ตลาดท่าเสด็จ หนองคาย

สัญลักษณ์ท่าเสด็จ



ตลาดท่าเสด็จตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำโขง ด้านหลังของตลาดจะติดแม่น้ำโขงสามารถมองเห็นประเทศลาวได้  ในเขตเทศบาลเมือง ซึ่งเป็นแหล่งรวมสินค้าที่ ในแถบอินโดจีนและยุโรปตะวันออก เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร แห้ง อาหารแปรรูป และข้าวของเครื่องใช้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า นาฬิกา เครื่องครัว ที่นี่เปิดจำหน่ายสินค้าทุกวันเวลาตั้งแต่ 07.00-18.30 น.




ที่นี้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเดินทางมาเที่ยวชมและ เลือกซื้อสินค้าเป็นจำนวนไม่น้อย นอกจากนี้ท่าเสด็จยังเป็นด่านสำหรับคนท้องถิ่นข้ามไปยังลาว ส่วนนักท่องเที่ยวทั่วไปต้องใช้ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว


การเดินทางมาตลาดท่าเสด็จ ง่ายๆ เลยมาตามทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ มุ่งเข้าสู่ตัวเมืองหนองคาย ไปตามถนนหลักเมือง จากนั้นจะมีป้ายบอกทางตลาดท่าเสด็จเป็นระยะๆ 
เมื่อมาถึงก็หาที่จอดรถแนะนำให้จอดรถที่หน้าทำการไปรษณีย์หนองคาย เพราะที่จอดรถอยู่ใกล้ตลาดท่าเสด็จมากที่สุด และที่จอดรถค่อนข้างจะหาอยากในบริเวณนี้ โดยเสียค่าจอดเป็นเงิน 30 บาท

ตลาดท่าเสด็จ ถ้าเดินเล่นดูสินค้าอินโดจีนไปตามทางเรื่อยๆ จะมีสินค้าหลายอย่างมากมายให้เลือกซื้อ เช่นของเล่นต่างๆ ของฝาก ของแช่อิ่ม ของแห้ง เสื้อผ้า กระเป๋าก็อบปีสวยๆ ของกินพื้นเมือง ทางเดินชมตลาดยาวมาก 
ร้านอาหารอุดมรส ริมแม่น้ำโขง

เมนูความอร่อย




ได้เวลาเที่ยงเริ่มหิวหาร้านอาหารนั่งกินข้าวสักร้าน ก็ได้เจอร้านชื่อว่า ร้านอาหารอุดมรส ริมแม่น้ำโขงที่นี้อาหารอร่อยมาก แถมวิวทิวทัศน์ดีมากติดริมโขงมองเห็นเรือแล่นผ่านสวยงาม ได้อรรถรสในการกินไปด้วย ร้านอุดมรส แห่งนี้มีสองชั้น ด้านบนเป็นชั้นดาดฟ้า มีโต๊ะไว้ค่อยบริการมากมาย แต่ถ้ามาตอนกลางวันนั่งไม่ได้เพราะอากาศร้อน แต่ถ้ามาตอนกลางคืนแนะนำให้นั่งบนชั้นดาดฟ้าดื่มด่ำกับบรรยากาศริมแม่น้ำโขงที่งามเหนื่อคำพรรณา

มุมเก็บภาพสวยๆ ริมโขงครับ

ประวัติวัดหินหมากเป้ง



                                                            ประวัติวัดหินหมากเป้ง


.....หลังจากนี้ไปราว พ.ศ. ๒๔๗๖ ที่ซึ่งเป็นวัดหินหมากเป้ง ในขณะนี้ เป็นป่าทึบรกมากกอปรด้วยเชื้อมาลาเรีย ทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ร้ายต่างๆ มีเสือ หมี เป็นต้น แล้วก็เป็นท่าข้ามของเขาเหล่านั้นในระหว่าง ๒ ประเทศ   คือประเทศไทยและประเทศลาวอีกด้วย เพราะที่นี้ห่างจากคนสัญจรไปมา จะมีก็พวกพรานป่ามาหาดังยิงสัตว์กินเท่านั้น อนึ่ง คนแถบนี้รู้จักหินหมากเป้งในนามว่าผีดุมาก พระธุดงค์ที่ต้องการทดสอบความกล้าหาญของตนแล้ว จะต้องมาภาวนา ณ ที่นี้ ผู้ที่ได้มาทดสอบความกล้าหาญในที่นี้แล้ว ย่อมเชื่อตนเองได้ ทั้งเพื่อนพรหมจรรย์ก็ยกย่องว่าเป็นผู้กล้าหาญเชื่อถือได้เนื่องจากเขาถือว่าผีดุนั่นเอง ต้นไม้ใหญ่ป่าดงจึงยังเหลือไว้ให้พวกเราได้เห็นดังปรากฏอยู่ ณ บัดนี้ นอกจากจะเป็นท่าข้ามของเหล่าสัตว์ร้ายดังกล่าวแล้วขังเป็นท่าข้ามของพวกมิจฉาชีพขนของหนีภาษีมีฝิ่นเถื่อน เป็นต้น  สัตว์พาหนะมีวัวควายเป็นต้น  ไม่ว่าฝั่งโน้นหรือฝั่งนี้ถ้ามันหาย สงสัยว่าคนขโมยแล้ว ทั้งเจ้าของและเจ้าหน้าที่จุดแรกจะต้องมาดักจับเอาตรงนี้เอง ถ้าไม่เจอะแล้วก็หมดหวังหินหมากเป้งเป็นชื่อหินสามก้อนซึ่งตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขงที่หน้าวัดนี้เอง อันมีรูปลักษณะคล้ายลูกตุ้มเครื่องชั่งทองคำสมัยเก่าคนชั้นนี้เขาเรียกว่า เต็งหรือเป้งยอย คำว่าหมากเป้งเป็นภาษาภาคนี้   ผลไม้  หรือ อะไรก็ตาม   ถ้าเป็นลูกแล้วเขาเรียกหมากขึ้นหน้า   เช่น   หมากม่วง   หมากพร้าว    เป็นต้น มีคนเฒ่าคนเก่าเล่าปรัมปราสืบกันมาว่า หินหมากเป้งก้อนบน (เหนือน้ำ) เป็นของหลวงพระบาง ก้อนกลางเป็นของบางกอก  ก้อนใต้เป็นของเวียงจันทร์  ต่อไปในอนาคตข้างหน้ากษัตริย์ทั้งสามนครจะมาสร้างให้เจริญ คำนี้ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้พยากรณ์ไว้ก็ได้บอก เป็นแต่เล่าสืบๆ กันมาเท่านั้น แต่มีเค้าน่าจะมีผู้มีญาณพยากรณ์ไว้แน่ เพราะสถานที่นี้เป็นวัตถุโบราณอันส่อแสดงว่าคงจะเป็นสถานที่สำคัญสักอย่างหนึ่ง ดังที่ปรากฏอยู่ คือ  ขุดคูเป็นรูปวงเดือนแรมหันข้างแหว่งลงไปทางแม่น้ำโขง ถ้าดูที่ขุดเป็นปีกกาออกไปสองข้างแล้ว ทำให้เข้าใจว่าเป็นสนามเพลาะ แต่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ ณ ที่ใด ๆ และไม่เคยได้ยินนักโบราณคดีพูดถึงเลยเรื่องสามกษัตริย์จะมาสร้างหินหมากเป้งให้เจริญู  ผู้เขียนเมื่อยังเด็กอยู่ได้ฟังแล้วยิ้มในใจไม่ยักเชื่อเลย นึกว่าป่าดงดิบ แท้ ๆ ผีดุจะตายแล้วใครจะมาสร้าง สร้างแล้วใครจะมาอยู่เล่า แล้วเรื่องนั้นมันก็ลืมเลือนหายไปนานจนไม่มีใครกล่าวถึงอีกแล้ว เพราะเห็นว่าไร้สาระแล้วจู่ๆผู้เขียนซึ่งไม่เชื่อคำพยากรณ์นั้นเองได้มาอยู่และมาสร้างเสียเอง จึงระลึกขึ้นมาได้ว่าอ๋อ ความจริงมันหนีความจริงไม่พ้น ถึงใครจะไม่พูดถึงมันก็ตาม เมื่อถึงเวลาของมันแล้วความจริงมันจะปรากฏขึ้นมาเอง
....พ.ศ. ๒๔๘๑ พระอาจารย์หล้า  ได้มาจำพรรษา ณ ที่นี้เป็งองค์แรก แต่ท่านก็มิได้สร้างเป็นวัด ทำเป็นกระต๊อบเล็ กๆ อยู่อย่างพระธุดงค์ธรรมดา ๆ ท่านองค์นี้เป็นลูกคนบ้านห้วยหัดนี้เอง ท่านเคยมีครอบครัว  ได้ลูกชายคนหนึ่งแล้ว  ภรรยาท่านตายท่านจึงได้ออกบวช   อายุของท่านราว  ๔๐  ปี โดย เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์   เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชเวที เป็นพระอุปัชฌายะ ท่านไม่รู้หนังสือ เมื่อมาภาวนากัมมัฏฐาน ตัวหนังสือมาปรากฏในภาวนาของท่าน ท่านเป็นคนขยันหมั่นเพียรมาก  สนใจในกิจการทั่วไป เมื่อตัวหนังสือมาปรากฎในภาวนาของท่านเป็นที่อัศจรรย์ท่านยิ่งสนใจมากท่านพยายามประสมและอ่านผิดบ้างถูกบ้างทีแรก นานเข้าจนอ่านหนังสือที่มีเนื้อความเป็นธรรมได้ นอกนั้นอ่านไม่ได้ ผลที่สุดด้วยความพยายามของท่านอ่านหนังสือทั่วๆ ไปได้หมด เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้เลย  แต่ท่านพระอาจารย์หล้าได้เป็นไปแล้ว  ตอนหลัง ๆ ท่านเป็นเจ้าตำราสั่งให้เขาซื้อหนังสือใหญ่ ๆ  เช่น   หนังสือพระวิสุทธิมัคค์    ปุพพสิกขา มหาขันธกวินัย   มาไว้เป็นสมบัติของท่านเลย
ท่านชอบเที่ยววิเวกองค์เดียวอยู่ตามแถบแถวภูพานนี้โดยมากชาวบ้านแถวที่ท่านเที่ยวไปยอมเคารพนับถือท่านมาก ถ้าบ้านใดเจ็บไข้ได้ป่วยโดยเขาถือว่าผีมาอาละวาด เขาจะต้องไปนิมนต์ให้ท่านไปขับผีให้ ความจริงมิใช่ท่านไปขับผี แต่ท่านไปโปรดเขาพร้อมทั้งชาวบ้านด้วย เมื่อท่านไปถึงทีแรก ท่านจะต้องหาที่พักซึ่งเขาถือว่าเป็นที่อยู่ของผี แล้วท่านจะต้องนั่งกำหนดภายในให้รู้ว่า ผีตัวนี้มีชื่อว่าอย่างไรทำไมจึงต้องมาอยู่ ณ ที่นี้ และได้ทำให้ชาวบ้านเขาเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะเหตุใดเมื่อท่านทราบแล้วท่านจะต้องกำหนดหาบทภาวนาเพื่อให้ผีตนนั้นมีจิตอ่อนน้อมยอมเมตตาเป็นมิตรกับชาวบ้านเหล่านั้นแล้วท่านจะเรียกชาวบ้านเหล่านั้นมาสอนให้เขาตั้งมั่นอยู่ในคุณ พระรัตนตรัย  ต้องไปก็ให้มีการปฏิบัติทำวัตรไหว้พระเช้าเย็นเป็นประจำอย่าได้ขาด แล้วตอนท้ายก็สอนให้เขาภาวนาบทที่ท่านเลือกไว้นั้นนอกจากสอนให้เขาเหล่านั้นงดเว้นจากการสาปแช่ง ด่า และพูดคำหยาบคายต่าง ๆ ห้ามลักฉ้อโกงขโมยของกันและกันให้เว้นจากมิจฉาจาร แลให้งดจากการดื่มสุรา และยังมิให้รับประทานลาบเนื้อดิบอีกด้วยเมื่อท่านไปสอนที่ไหนได้ผลเป็นที่อัศจรรย์ทุกแห่งไป  แม้ที่เป็นหนอง  หรือเป็นน้ำซับ ทำเลดี ๆ ซึ่งเขาถือว่าผีดุ เมื่อปฏิบัติตามท่านสอนแล้วเขาไปจับจองเอาที่เหล่านั้นมาเป็นกรรมสิทธิ์ทำมาหากินจนตั้งตัวได้ก็มากราย ที่อธิบายมานี้เพื่อให้เห็นอัจฉริยนิสัยของท่าน ซึ่งไม่น่าจะเป็นแต่มันก็เป็นไปแล้วท่านเพิ่งมามรณภาพที่บ้านนาเก็น เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๐ นี้เอง อายุของท่านได้ ๘๒ ปี พรรษา  ๔๒ การมรณภาพของท่านก็พิสดาร คือท่านป่วยมีอาการเล็กน้อย เย็นวันนั้นท่านออกเดินไปตามริมชายวัด เห็นต้นไม้แดงตายยืนอยู่ต้นหนึ่ง    ท่านบอกว่าฉันตายแล้วให้เอาไม้ต้นนี้นะเผาฉัน   แล้วก็อย่าเอาไว้ล่วงวันล่วงคืนด้วย ตกกลางคืนมาราว ๒ ทุ่มท่านเริ่มจับไข้ อาการไข้เริ่มทวีขึ้นโดยลำดับ ตีหนึ่งเลยมรณภาพ บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสก็ทำตามท่านสั่งทุกอย่าง ที่นำเอาประวัติของท่านพระอาจารน์หล้ามาเล่าโดยย่อนี้ ก็เพื่อผู้สนใจจะได้นำมาเป็นคติ    และท่านเป็นคนแรกที่เริ่มสร้างวัดนี้   ต่อจากนี้ก็มี    พระเส็ง พระคำจันทร์  พระอุทัย และพระคำพันเป็นคนสุดท้าย
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗   ข้าพเจ้าได้จำพรรษาที่ถ้ำขาม   ออกพรรษาแล้ว      ได้วิเวกมาพักอยู่ด้วย พระคำพัน เห็นว่าที่นี้วิเวกดีพร้อมด้วยดินฟ้าอากาศ  รู้สึกว่าได้รับความสบายดี  จึงได้จำพรรษาอยู่ด้วยพระคำพัน บรรดาศิษยานุศิษย์เมื่อได้ทราบว่าข้าพเจ้ามาอยู่ ณ  ที่นี้ ต่างก็พากันลงเรือมาเยี่ยม เพราะเวลานั้นทางรถยังไม่มี เมื่อพากันมาเห็นสถานที่เป็นที่สัปปายะ อากาศก็ดี วิเวกน่าอยู่ วิวก็สวยงามแต่เสนาสนะที่อยู่อาศัยยังไม่น่าอยู่     ต่างก็พากันหาทุนมาช่วยบูรณก่อสร้าง  จนสำเร็จเป็นวัดที่ถาวร ดังที่ปรากฏแก่สายตาของท่านทั้งหลายอยู่  ณ  บัดนี้แล้ว
.....วัดหินหมากเป้งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  ณ  วันที่   ๒๖  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๑๕   โดยเจ้าพระคณะสมเด็จพระมาหวีรวงศ์ เป็นประธานในสงฆ์ อุโบสถหลังนี้ทำหลังคาเป็นสองชั้น กว้าง  ๗  เมตร   ยาว  ๒๑  เมตร  สูงจากพื้นถึงเพดาน   ๙    เมตร มุงกระเบึ้องดินเผากาบกล้วยโดยคุณไขศร  ตันศิริ  กองช่างสุขาภิบาล กรมอนามัย เป็นผู้ออกแปลนอาจารย์เลื่อน  พุกะพงษ์   กรมศิลปกร   เป็นผู้ออกแบบลวดลายต่าง  ๆ  ตลอดถึงแนะนำการก่อสร้าง นายไพบูลย์  จัดทด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เฉพาะค่าแรงงานราคาสามแสนบาท น.ท.พนศักดิ์  รัตติธรรม เป็นผู้หาเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ทางกรุงเทพฯ นายแสงเพ็ชร จันทด เป็นเหรัญญิกและหาเครื่องอุปกรณ์ตลอดควบคุมการก่อสร้างโดยใกล้ชิด
 

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

อำเภอเมือง จ.หนองคาย
                 สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงไปจากอำเภอเมืองหนองคายไปยังเมืองท่าเดื่อ ของ สปป.ลาว ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเวียงจันทน์ประมาณ 20 กิโลเมตร สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของ 3 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ลาว และไทย นับว่าเป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวทั่วไปที่ต้องการเดินทางจากหนองคายไปเวียงจันทน์ จำเป็นต้องใช้สะพานแห่งนี้ ตัวสะพานมีความยาว 1,137 เมตร กว้าง 12.7 เมตร มีช่องสำหรับเดินรถ 2 ช่องทาง ซึ่งตรงช่วงกลางสะพานออกแบบไว้สำหรับสร้างทางรถไฟ เชิงสะพานมีด่านตรวจคนเข้าเมือง

     การเดินทางท่องเที่ยวประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางด้วยตัวเอง หรือใช้บริการนำเที่ยวจากบริษัทนำเที่ยวที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ด่านจะเปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-22.00น.

 เอกสารประกอบการเดินทางชาวไทย ต้องทำบัตรผ่านแดนที่ศาลากลางจังหวัดหนองคาย โทร. 0 4241 1778 เปิดทำการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ค่าธรรมเนียมคนละ 40 บาท หรือติดต่อผ่านบริษัททัวร์ที่รับดำเนินการให้ ค่าบริการ 100 บาท เอกสารประกอบการทำบัตรผ่านแดนคือ สำเนาบัตรประชาชนและรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป กรณีผู้ติดตามอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาสูติบัตรแทนสำเนาบัตรประชาชน และนำบัตรผ่านแดนไปประทับตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ค่าธรรมเนียมฝั่งไทย 10 บาท ค่ารรมเนียมฝั่งลาว วันจันทร์-ศุกร์ 50 บาท เสาร์-อาทิตย์ 70 บาท อายุผ่านแดน 3 วัน หากอยู่เกินต้องขอต่อที่กระทรวงภายใน สปป.ลาวและใช้ได้เฉพาะการเดินทางไปเมืองชายแดนไทย-ลาวไม่เกิน 25 กิโลเมตร หากเดินทางไปเมืองอื่นต้องใช้หนังสือเดินทางพร้อมวีซ่า
ชาวต่างประเทศ ต้องใช้หนังสือเดินทาง(Passport) พร้อมวีซ่า โดยยื่นขอวีซ่าได้ที่สถานฑูตลาวประจำประเทศไทย 520/1-3 ซอยรามคำแหง 39 แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โทร.0 2539 6667 หรือสถานกงสุลลาว 18/1-3 ถนนโพธิสถิตย์ บ้านโนนทัน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4322 1861,0 4322 3688 ทั้งนี้ต้องดำเนินการล่วงหน้าก่อนเข้าประเทศอย่างน้อย 3 วันทำการ หรือติดต่อบริษัทนำเที่ยวดำเนินการได้ อนุญาตให้อยู่ในลาวได้ 30 วัน หรือติดต่อขอ visa on arrival ได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของ สปป.ลาว อยู่ในลาวได้ 15 วัน

การนำรถยนต์ออก-เข้าประเทศต้องทำเอกสารนำรถออกและเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนด สามารถติดต่อบริษัททัวร์ในหนองคายดำเนินการให้ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ด่านศุลกากรจังหวัด โทร. 0 4241 1518,0 4242 1468-9 โทรสาร 0 4241 2654
ปัจจุบัน บริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) เส้นทางจังหวัดหนองคาย-เวียงจันทน์แล้ว ค่าโดยสารเที่ยวละ 55 บาท/คน (สัมภาระไม่เกินคนละ 20 กิโลกรัม) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4224 7950-2